ชื่อกองทรัสต์(ไทย) | ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ | |||||
ชื่อกองทรัสต์(อังกฤษ) | LH Shopping Centers Leasehold Real Estate Investment Trust | |||||
ชื่อย่อ | LHSC | |||||
ประเภทโครงการ | ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) | |||||
นโยบายการลงทุน | (1) กองทรัสต์จะลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์และกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ของโครงการศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 จากบริษัท แอล แอนด์ เอช พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นระยะเวลาประมาณ 26 ปี โดยสิทธิการเช่าดังกล่าวจะหมดอายุลงในวันที่ 31 สิงหาคม 2583 โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 97,905 ตารางเมตร ประกอบด้วยสิทธิการเช่าอาคารสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่จอดรถและส่วนควบของอาคารสิ่งปลูกสร้างที่เป็นงานระบบสาธารณูปโภคส่วนกลางที่เกี่ยวข้องกับกิจการศูนย์การค้า รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับศูนย์การค้า และกรรมสิทธิ์ในเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ตกแต่งที่ติดตรึงตราและไม่ติดตรึงตรา รวมทั้งอุปกรณ์อื่นใดที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการประดับตกแต่งหรืออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการโครงการศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 รวมถึงสิทธิใดๆ ที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินดังกล่าว และกองทรัสต์จะได้รับสิทธิในการใช้พื้นที่ส่วนเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครบริเวณรถไฟฟ้า BTS สถานีอโศก และรวมถึงพื้นที่ใช้ร่วมกันกับโรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ เทอร์มินัล 21 (2) กองทรัสต์จะนำเงินที่ได้มาจากการระดมทุน และเงินกู้ยืมระยะยาว มาใช้ในการลงทุนในทรัพย์สินหลัก ทั้งนี้ การกู้ยืมเงินจะช่วยให้กองทรัสต์มีโครงสร้างการบริหารเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีต้นทุนในการลงทุนต่ำลงเมื่อเทียบกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์เต็มมูลค่าการลงทุน ส่งผลให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์ดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ก่อตั้ง ทรัสต์ได้คำนึงถึงการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทรัสต์ด้วย | |||||
เหมาะสำหรับนักลงทุน | ที่มีเงินลงทุนในระยะปานกลางถึงระยะยาว เนื่องจากทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) เป็นกองทรัสต์ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ประจำในรูปของค่าเช่า กองทรัสต์นี้จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำที่ขึ้นอยู่กับสภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของผลประโยชน์จากรายได้ที่เกิดจากการดำเนินการของอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือกำไรที่อาจได้รับจากการขายหน่วยทรัสต์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | |||||
วันที่กองทรัสต์จัดตั้ง | 22 ธันวาคม 2557 | |||||
วันที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน | 26 ธันวาคม 2557 (เริ่มทำการซื้อขาย วันที่ 26 ธันวาคม 2557) | |||||
มูลค่าหน่วยทรัสต์จดทะเบียน | 4,978,259,940 บาท | |||||
จำนวนหน่วยลงทุน | 488,064,700 หน่วย | |||||
มูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย | 10.20 บาท | |||||
มูลค่าขั้นต่ำของการจองซื้อ | 1,000 หน่วย และเพิ่มขึ้นทีละจำนวน 100 หน่วย | |||||
นโยบายการจ่ายผลประโยชน์ | (1) ผู้จัดการกองทรัสต์จะจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 (เก้าสิบ) ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วของรอบปีบัญชี โดยจะจ่ายไม่น้อยกว่าปีละสองครั้ง อย่างไรก็ดี ผู้จัดการกองทรัสต์อาจมีการพิจารณาจ่ายประโยชน์ตอบแทนพิเศษเกินกว่าการจ่ายประโยชน์ตอบแทนปีละสองครั้งดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ได้ตามที่ผู้จัดการกองทรัสต์มีความเห็นว่ามีความจำเป็นและสมควร และจะจ่ายภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายประโยชน์ตอบแทนนั้น แล้วแต่กรณี - กำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงกำไรสุทธิที่อ้างอิงสถานะเงินสดของกองทรัสต์ โดยเป็นไปตามแนวทางที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด - ในกรณีที่กองทรัสต์มีกำไรสะสมในรอบระยะเวลาบัญชีใด ผู้จัดการกองทรัสต์อาจจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์จากกำไรสะสมดังกล่าวด้วยก็ได้ - ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถจ่ายประโยชน์ตอบแทนได้ในระยะเวลาดังกล่าว ผู้จัดการกองทรัสต์จะแจ้งให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์ (2) ในกรณีที่กองทรัสต์ยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ผู้จัดการกองทรัสต์จะไม่จ่ายประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ | |||||
อายุโครงการ | ไม่กำหนดอายุกองทรัสต์ | |||||
รายละเอียดทรัพย์สินที่ลงทุน | โครงการศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ตั้งอยู่ที่เลขที่ 88 ซอยสุขุมวิท 19 (วัฒนา) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร บนถนนสุขุมวิทติดกับสุขุมวิท ซอย 19 ใกล้สี่แยกอโศก โดยโครงการศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ได้รับการตกแต่งและออกแบบด้วยการจำลองถนนของเมืองต่างๆ เช่น โรม ปารีส และโตเกียว โครงการศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 สามารถสนองความต้องการที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นร้านค้าแฟชั่นทั้งต่างประเทศและในประเทศ ภัตตาคารและศูนย์อาหาร โรงภาพยนตร์และร้านค้าในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ โครงการศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ยังเชื่อมต่อกับโรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ เทอร์มินัล 21 โครงการศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ประกอบด้วย อาคารศูนย์การค้าสูง 8 ชั้นและมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น รวมถึงพื้นที่ที่จอดรถภายในอาคาร ตั้งอยู่บนที่ดินประมาณ 9 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา ซึ่งสร้างแล้วเสร็จและเริ่มเปิดดำเนินงานเมื่อเดือนตุลาคม 2554 โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 97,905 ตารางเมตร | |||||
ผู้จัดการกองทรัสต์ | บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด | |||||
ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ | บริษัท แอล แอนด์ เอช รีเทล แมเนจเมนท์ จำกัด | |||||
ผู้ดูแลผลประโยชน์ | บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด | |||||
บริษัท / ราคาประเมินค่าทรัพย์สิน ตอนลงทุนครั้งแรก |
|
ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน | เรียกเก็บตามที่ได้เกิดขึ้นจริง โดยตัดจ่ายจากจำนวนเงินที่โอนเข้าบัญชีนั้นๆ ตามอัตราที่ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินกำหนด |
ค่าธรรมเนียมการโอนหน่วยทรัสต์ | ตามอัตราที่นายทะเบียนหน่วยทรัสต์กำหนด |
ค่าธรรมเนียมการออกเอกสารสิทธิในหน่วยทรัสต์ | ตามอัตราที่นายทะเบียนหน่วยทรัสต์กำหนด |
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ | - ค่าธรรมเนียมในการจดแจ้งการจำนำหน่วยทรัสต์กับนายทะเบียนหน่วยทรัสต์ตามอัตราที่บริษัท และ/หรือ นายทะเบียนหน่วยทรัสต์กำหนด - ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ขอให้บริษัทหรือนายทะเบียนหน่วยทรัสต์ดำเนินการให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์เป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากกรณีปกติตามที่จ่ายจริง |
หมายเหตุ : ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นอัตราที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือภาษีอื่นใดทำนองเดียวกัน
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทรัสต์ | เพดาน(ร้อยละของ NAV)(2) | อัตรา |
อัตราส่วนค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ(3)ไม่เกินร้อยละ 20 | ||
ค่าธรรมเนียมผู้จัดการกองทรัสต์ | ไม่เกินร้อยละ 2.0 ของ NAV ต่อปี | ไม่เกินร้อยละ 2.0 ของ NAV ต่อปี |
ค่าธรรมเนียมทรัสตีและผู้เก็บรักษาทรัพย์สิน | ไม่เกินร้อยละ 1.0 ของ Adjusted NAV(1) ต่อปี | ไม่เกินร้อยละ 1.0 ของ Adjusted NAV(1) ต่อปี |
ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน | ไม่เกินร้อยละ 1.0 ของ NAV ต่อปี | ไม่เกินร้อยละ 1.0 ของ NAV ต่อปี |
ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาทางการเงิน | ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของ NAV ภายหลังการทำธุรกรรมในแต่ละครั้ง หรือ NAV ต่อปี | ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของจำนวนเงินที่ระดมทุนได้ |
ค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายหน่วยทรัสต์ | ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของ NAV ภายหลังการทำธุรกรรมในแต่ละครั้ง | ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของมูลค่าที่จัดจำหน่าย |
| | |
ค่าธรรมเนียมผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ | ||
1.ค่าธรรมเนียมการเก็บค่าเช่าในนามของกองทรัสต์ | รวมไม่เกินร้อยละ 2.0 ของ NAV ต่อปี หรือ NAV ภายหลังการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง | ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของรายได้ค่าเช่าสุทธิของทรัพย์สินหลัก |
2.ค่าคอมมิชชั่น 2.1ผู้เช่าพื้นที่รายเดิมต่อสัญญา 2.2ผู้เช่าพื้นที่รายใหม่ทำสัญญา (1)อายุสัญญาเช่าไม่ถึง 1 ปี (2)อายุสัญญาเช่าตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี (3)อายุสัญญามากกว่า 3 ปี 2.3 ผู้เช่าพื้นที่ส่งเสริมการขาย | ไม่เกิน 0.5 เดือน ไม่เกิน 1.0 เดือน (คำนวณตามสัดส่วนระยะเวลาเช่าจริง) ไม่เกิน 1.0 เดือน ไม่เกิน 1.5 เดือน ไม่เกินร้อยละ 20 ของรายได้ค่าบริการพื้นที่ | |
3. ค่าธรรมเนียมบริหารอสังหาริมทรัพย์ | | ในแต่ละครั้ง
ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของทรัพย์สินหลัก(4) |
4. ค่าธรรมเนียมพิเศษเพื่อสร้างแรงจูงใจ ในการบริหาร | | ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของรายได้ค่าเช่าสุทธิของทรัพย์สินหลัก |
5. ค่าธรรมเนียมการซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ | | ไม่เกินร้อยละ 1.50 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนเพิ่มและไม่เกินร้อยละ 0.75 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะขาย |
6. ค่าธรรมเนียมในการคุมงานการซ่อมแซม ดูแล บำรุงรักษา ปรับปรุง และ/หรือ พัฒนาทรัพย์สินหลัก | | ไม่เกินร้อยละ 2.0 ของมูลค่าการซ่อมแซม ดูแล บำรุงรักษา ปรับปรุงหรือพัฒนาทรัพย์สินหลัก |
ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ | ไม่เกินร้อยละ 1.0 ของ NAV ต่อปี | ไม่เกินร้อยละ 1.0 ของ NAV ต่อปี |
| | |
ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษากองทรัสต์ | | |
1. ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษา | ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของ NAV ต่อปี | ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของ NAV ต่อปี |
2. ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาเพิ่มเติม กรณีที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือเปลี่ยนมือของอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละครั้ง | ไม่เกินร้อยละ 5.0 ของ NAV ภายหลังการทำธุรกรรมในแต่ละครั้ง | ไม่เกินร้อยละ 5.0 ของมูลค่าการซื้อ ขาย โอน หรือเปลี่ยนมือของอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละครั้ง |
| | |
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ | ค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมไม่เกินร้อยละ 18.0 ของ NAV ต่อปี |